KEMP MODEL

          เจอโรลด์ เคมป์ (Jerrold Kemp) ได้พัฒนารูปแบบการสอนขึ้นในปี คศ. 1990 ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่ง พิจารณาจากองค์ประกอบเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างครบถ้วน สามารถนำไปใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียนได้เป็นอย่างดี แม้ว่ารูปแบบการเรียนการสอนของเจอโรลด์เคมป์ จะดูเหมือนว่าค่อนข้างยุ่งยากกว่ารูปแบบการสอนอื่นๆ แต่ก็เป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 10 ขั้นตอนย่อย โดยพิจารณาจากวงรีส่วนในออกมาสู่ส่วนนอก ดังนี้

1. ระดับในสุด เป็นองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปของบทเรียนและผู้เรียน

2. ระดับถัดออกมา ประกอบด้วย 9 ขั้นตอนย่อย

3. ระดับที่สาม เป็น การปรับปรุง แก้ไขบทเรียน

4. ระดับนอกสุด เป็นการประเมินผล ได้แก่ การประเมินผลระหว่างดำเนินการ และการประเมินผลสรุปรายละเอียดแต่ละขั้นตอนย่อย ๆ มีดังนี้

ระบบการสอนของ เจอโรลด์เคมป์ (Jerrold Kemp Model)

1. ความต้องการของผู้เรียน เป้าหมาย การเรียงลำดับ และข้อจำกัด (Learner Needs,Goal, Priorities, Constraints)

2. คุณสมบัติของผู้เรียน (Learner Characteristics)

3. เป้าหมายของงานที่ได้รับ (Job Outcomes Purpose)

4. การวิเคราะห์งานหรือภารกิจรายวิชา (Subject Task Analysis)

5. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objectives)

6. กิจกรรมการสอน (Teaching Activities)

7. แหล่งทรัพยากรการเรียนการสอน (Instructional Resources)

8. สิ่งสนับสนุนบริการ (Support Services)

9. การประเมินผลการเรียนรู้ (Learning Evaluation)

10. การทดสอบก่อนบทเรียน (Pretesting)

          รูปแบบการสอนของเจอโรลด์ เคมป์ ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในการพัฒนาระบบการสอนหรือบทเรียนต่าง ๆ ต่อ มาได้มีการปรับเปลี่ยนรูป แบบการสอนใหม่ เพื่อนำไปใช้ออกแบบบทเรียนที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ในปีคศ.1994 ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 3 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น10 ขั้นตอนย่อย โดยพิจารณาจากวงรีส่วนในออกมาสู่ส่วนนอกดังนี้

1. ระดับในสุด ได้แก่ องค์ประกอบด้านความต้องการของผู้เรียน เป้าหมาย การเรียงลำดับ และข้อจำกัดต่าง ๆ (Learner Needs, Goal, Priorities, Constraints) เป็นส่วนที่พิจารณาเกี่ยวกับความต้องการ เป้าหมาย และข้อจำกัดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ของผู้เรียนและการใช้บทเรียน

สำหรับขั้นตอนย่อยๆ มีดังนี้

1. ปัญหาการเรียนการสอน (Instructional Problems) เป็นการกำหนดปัญหาการเรียนการสอน เพื่อนำไปพิจารณาออกแบบและพัฒนาบทเรียน

2. คุณสมบัติของผู้เรียน (Learner Characteristics) เป็นการพิจารณาคุณสมบัติของผู้เรียนที่จะเป็นผู้ใช้บทเรียนหรือ ระบบการสอนที่พัฒนาขึ้น

3. การวิเคราะห์งานหรือภารกิจ (Task Analysis) เป็นการวิเคราะห์งานที่ผู้เรียนจะต้องแสดงออกในรูปของการกระทำที่วัดได้หรือสังเกตได้หลังจบบทเรียน

4. วัตถุประสงค์การเรียนการสอน (Instructional Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียน

5. การเรียงลำดับเนื้อหา (Content Sequencing) เป็นการกำหนดความสำคัญของเนื้อหาโดยเรียงลำดับตามหลักประสบการณ์การเรียนรู้

2. ระดับถัดออกมา เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับเป้าหมาย สิ่งสนับสนุน กลยุทธ์ด้านการเรียนการสอน และอื่น ๆ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 9 ด้าน ได้แก่

2.1 คุณสมบัติของผู้เรียน (Learner Characteristic)

2.2 เป้าหมายของงานที่ได้รับ (Job Outcomes Purpose)

2.3 การวิเคราะห์งานหรือภารกิจรายวิชา (Subject Task Analysis)

2.4 วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objectives)

2.5 กิจกรรมการสอน (Teaching Activities)

2.6 แหล่งข้อมูลการเรียนการสอน (Instructional Resources)

2.7 สิ่งสนับสนุนบริการ (Support Services)

2.8 การประเมินผลการเรียน (Learning Evaluation)

2.9 การทดสอบก่อนบทเรียน (Pretesting)

3. ระดับนอกสุด ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ การปรับปรุงแก้ไขบทเรียน (Revision) การประเมินผลระหว่างดำเนินการ (Formative Evaluation) และการประเมินผลสรุป (Summ-ative Evaluation)

เจอโรลด์เคมป์ (Jerrold Kemp )