ทฤษฎีบริหารจัดการของ Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่

Henry Fayol

ประวัติ พื้นฐาน

• มีชีวิตอยู่ในช่วง ปี ค.ศ. 1841-1926 เป็นชาวฝรั่งเศส นักเศรษฐศาสตร์และนักทฤษฎีทุนนิยมเสรีแนวใหม่ (neoclassical economic)

• เขาเกิดในครอบครัวที่ประกอบธุรกิจขนาดเล็กแห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส และจบการศึกษาจากโรงเรียน National School of Mines at St.Etience

• ค.ศ. 1860-1866 เมื่อเขาจบการศึกษาอายุได้ 19 ปี เขาได้เข้าทำงานที่บริษั เป็นวิศวกร เหมืองแร่ชื่อ Compagnie de Commentry-Fourchambeau-Decazeville 

• ได้ไต่เต้าสู่ตำแหน่งสูงสุดเป็นผู้อำนวยการในช่วงปี ค.ศ. 1888-1918 เป็นผู้นำกว่า 1000 คน

• เขาได้เขียนหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1916 ชื่อ Administration industrielle et générale หรือ หลักการบริหารอุตสาหกรรม

Henry Fayol

          เป็นเจ้าของแนวความคิดว่าด้วยหลักการจัดการในการในการบริหารงานของผู้บริหารงานทั้งภาครัฐและเอกชน( Private and Public) หลักการจัดการดังกล่าวมีความยืดหยุ่นได้ (Flexibly) สาระของหลักการจัดการมี 14 ข้อ ดังนี้

 1. การจัดแบ่งงาน (division of work) หลักการก็คือการทำให้คนจำนวนมากที่ต้องมาทำงานร่วมกัน ได้มีการจัดแบ่งหน้าที่ตามความสามารถ หรือความเชี่ยวชาญพิเศษของแต่ละคน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
          2. การมีอำนาจหน้าที่ (authority) ผู้จัดการต้องสามารถออกคำสั่งได้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทำให้คำสั่งที่ออกไปนั้นมีความถูกต้องและเกิดความรับผิดชอบควบคู่กันไป เมื่อใดที่มีการใช้อำนาจหน้าที่ เมื่อนั้นความรับผิดชอบก็จะต้องติดตามไปด้วย
          3. ความมีวินัย (discipline) ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือพนักงานต้องเชื่อฟัง และเคารพกฏเกณฑ์ขององค์การ การที่คนจะมีวินัยที่ดีนั้นเกิดจากความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างฝ่ายจัดการและคนทำงาน ทั้งนี้ เมื่อมีการทำผิดกฏระเบียบขององค์การ ก็จะมีผลทำให้ได้รับโทษ
          4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา (unity of command) พนักงานหรือลูกจ้างทุกคนจะได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว สายบังคับบัญชาจะมีลักษณะเป็นทอดๆไป แต่ละคนจะรู้ว่าใครคือเจ้านายของตน
          5. เอกภาพในทิศทาง (unity of direction) แต่ละคนในกลุ่มกิจกรรมขององค์การจะมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน รับแผนเดียว และจากหัวหน้าเดียว
          6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน (Subordination of Individual Interests to the General Interests) คนที่เข้ามาทำงานในองค์การนั้นจะต้องยอมรับว่าผลประโยชน์ขององค์การจะต้องมาเหนือผลประโยชน์ส่วนตน
          7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม (remuneration) คนทำงานแม้จะต้องเห็นผลประโยชน์ขององค์การเหนือผลประโยชน์ส่วนตน แต่องค์การก็จะต้องทำหน้าที่จัดระบบค่าตอบแทนให้เหมาะสมแก่ความสามารถและเป็นไปอย่างยุติธรรม
          8. ระบบการรวมศูนย์ (centralization) การรวมศูนย์ในที่นี้หมายถึงระดับของการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีส่วนในการตัดสินใจอย่างไร การจะกระจายอำนาจ หรือรวมอำนาจเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ประเด็นจะอยู่ที่ ว่าทำอย่างไรจึงจะรวมศูนย์ได้ในแต่ละกรณี แนวคิดนี้มองเห็นความจำเป็นขององค์การที่ต้องมีศูนย์รวมอำนาจ
          9. สายบังคับบัญชา (scalar chain) หมายถึงสายบังคับบัญชาจากระดับสูงลงมาสู่ระดับต่ำสุด สายการสื่อสารติดต่อก็จะเป็นไปตามนี้ คือจะเป็นไปตามระดับขั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าสายการบังคับบัญชาก่อให้เกิดการเสียเวลาล่าช้า ก็ให้มีการข้ามขั้นตอนได้ และทั้งนี้ต้องเป็นข้อตกลงระหว่างส่วนงานที่เกี่ยวข้อง
          10. ความเป็นระบบระเบียบ (order) หมายความถึง คนก็ดี หรือวัสุดอุปกรณ์ทั้งหลายก็ดี จะอยู่ในที่อันเหมาะสมในเวลาอันเหมาะสม ความเป็นระบบระเบียบนี้ในส่วนหนึ่งหมายความว่าถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นคนป่วยงาน ลางาน ก็สามารถมีคนทดแทนได้ เพราะมีความเป็นระบบทำให้รู้งานกัน
          11. ความเท่าเทียมกัน (equity) ในที่นี้ ผู้เป็นหัวหน้าจะต้องมีการตอบสนองต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีเมตตา และยุติธรรม การใช้อำนาจของผู้บริหารจะเป็นไปด้วยหลักการ มิใช่จะทำอะไรได้ตามใจ
          12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร (stability of tenure of personnel) ทั้งนี้โดยมองว่า การที่มีคนเปลี่ยนงานบ่อยๆนั้นจะทำให้งานไม่มีประสิทธิภาพ ฝ่ายบริหารควรวางแผนงานให้สามารถมีการทดแทนกำลังคนกันได้ เมื่อมีตำแหน่งว่างลง
          13. การริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative) ผู้ใต้บังคับบัญชาจะสามารถมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะทำงานออกมาได้ในระดับที่สูง
          14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ (esprit de corps) การสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน มีความราบรื่น และความเป็นปึกแผ่นใน


          เฮนรี่ ฟาโยล (Henri Fayol) ได้สรุปเป็นทฤษฎีว่า หากวันหนึ่งคุณต้องอยู่ในสภาวะที่ต้องใช้คนจำนวนมากๆ ในการทำงานแล้วละก็หัวใจของการบริหารจัดการเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายนั้น มีองค์ประกอบด้วยกัน


5 ปัจจัย เรียกว่า POCCC มีดังนี้


1. การวางแผน (Planning) หมายถึง ภาระหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องทำการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อธุรกิจ และกำหนดขึ้นเป็นแผนการปฏิบัติงานหรือวิถีทางที่จะปฏิบัติเอาไว้ เพื่อสำหรับเป็นแนวทางของการทำงานในอนาคต


2. การจัดการองค์การ (Organizing) หมายถึง ภาระหน้าที่ที่ผู้บริหารจำต้องให้มีโครงสร้างของงานต่าง ๆ และอำนาจหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องจักร สิ่งของ และตัวคน อยู่ในส่วนประกอบที่เหมาะสม ในอันที่จะช่วยให้งานขององค์การบรรลุผลสำเร็จได้


3. การบังคับบัญชาสั่งการ (Commanding) หมายถึง หน้าที่ในการสั่งงานต่าง ๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งกระทำให้สำเร็จผลด้วยดี โดยที่ผู้บริหารจะต้องกระทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี จะต้องเข้าใจคนงานของตน


4. การประสานงาน (Coordinating) หมายถึง ภาระหน้าที่ที่จะต้องเชื่อมโยงของทุกคนให้เข้ากันได้ และกำกับให้ไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน


5. การควบคุม (Controlling) หมายถึง การที่จะต้องกำกับให้สามารถประกันได้ว่า กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำไปนั้นสามารถเข้ากันได้กับแผนที่ได้วางไว้ล่วงหน้า



หลักการบริหารของ เฮนรี่ ฟาโยล (Henri Fayol) สามารถนำไปประยุกต์ ใช้ได้เป็นการทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นงานบริหาร จัดการของเอกชน หรือของรัฐ

เทคนิคการทำงาน -> คนงานธรรมดา

ความสามารถทางด้านบริหาร -> ระดับผู้บริหาร

          ผู้บริหารจะต้องมีคุณลักษณะพร้อมความสามารถทางร่างกาย จิตใจ ไหวพริบ การศึกษาหาความรู้ เทคนิคในการทำงาน และประสบการณ์ต่าง ๆ Fayol แยกแยะให้เห็นว่าคุณสมบัติทางด้าน เทคนิควิธีการทำงาน นั้น สำคัญที่สุดในระดับคนงานธรรมดา แต่สำหรับระดับสูงขึ้นไปกว่านั้นความสามารถทางด้านบริหาร จะเพิ่มความสำคัญตามลำดับ และมีความสำคัญมากที่สุดในระดับผู้บริหารขั้นสุดยอด (Top executive) ควรจะได้มีการอบรม (training) ความรู้ทางด้านบริหารควบคู่กันไปกับความรู้ทางด้านเทคนิคในการทำงาน

งานวิจัยในต่างประเทศ Private Schooling and Fayol’s Principles of Management: A Case from Nepal

Journal of Education and Research March 2013, Vol. 3, No. 1, pp. 6-23

DOI: http://dx.doi.org/10.3126/jer.v3i0.7849

การศึกษาเอกชนและหลักการบริหารของ Fayol: กรณีจากเนปาล

Chandra Sharma Poudyal *มหาวิทยาลัย Waikato, Hamilton, New Zealand นามธรรม

          Henri Fayol เป็นที่รู้จักแพร่หลายในฐานะผู้ก่อตั้งการบริหารจัดการสำหรับการมีส่วนร่วมของเขาในด้านการจัดการ แม้ว่าหลักการบริหารของเขาจะเรียกว่าเป็นทฤษฎีการจัดการแบบคลาสสิก แต่หลักการเหล่านี้ยังคงมีผลบังคับใช้ในด้านการจัดการ ในบทความนี้ผมได้สำรวจประเด็นการจัดการและการเป็นเจ้าของโรงเรียนเอกชนสองแห่งในประเทศเนปาลโดยใช้หลักการบริหารของ Fayol

          เก็บข้อมูลจากโรงเรียนเอกชนสองแห่งโดยใช้วิธีการศึกษากรณีศึกษา ผมได้ทำการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับครูผู้บริหารและครูใหญ่ของโรงเรียนเอกชนสองแห่ง ในกรณีศึกษาโรงเรียนเจ้าของยังทำงานในฐานะครูใหญ่ของโรงเรียนด้วยเหตุนี้จึงได้มีการใช้คำว่าเจ้าของ / ครูใหญ่ในเอกสารฉบับนี้ เจ้าของ / ผู้ว่าจ้างได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวแทนของนายจ้างในขณะที่ครูถูกนำมาใช้แทนเสียงของพนักงาน ในทำนองเดียวกันผู้บริหารในการศึกษาครั้งนี้เป็นตัวแทนของทั้งนายจ้างและลูกจ้างของโรงเรียน

          การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าเมื่อการจัดการและการเป็นเจ้าของไม่ได้แยกออกจากกันมีความเข้มข้นของอำนาจ การกระจุกตัวของอำนาจในแต่ละบุคคลหรือกลุ่มของเจ้าของทำให้เกิดประเด็นที่เกี่ยวกับการบริหารต่างๆเช่นการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบที่ไม่เท่าเทียมกันความคลุมเครือบทบาทการจูงใจในเชิงลบและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หลักการและความรับผิดชอบของ Fayol การริเริ่มการควบคุมความสนใจในแต่ละกลุ่มความสนใจความมั่นคงในการทำงานของบุคลากรและเจตนารมณ์แห่งความร่วมมือได้ถูกนำมาใช้ในบทความนี้เพื่ออธิบายถึงประเด็นต่างๆเกี่ยวกับการจัดการและความเป็นเจ้าของที่เกิดขึ้นจากกรณีศึกษา

          บริษัท Toyota ที่ให้คนงานในสายการผลิตสามารถที่จะเสนอข้อคิดเห็นและวิธีการแก้ปัญหาในสายการผลิตได้ไม่เหมือนองค์กรอื่นๆที่คำสั่งการต้องมาจากข้างบน แต่บริษัท Toyota มีการบัญชาแบบล่างขึ้นบนด้วยให้ความเสมอภาคกับคนงานและพนักงานทุกๆคน ในการทำงานกับคนอื่นๆคุณก็ต้องมีความคิดริเริ่ม

          แม้ว่าหลักการเหล่านี้จะใช้กันอย่างแพร่หลายในวันนี้ แต่ก็ยังสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้บริหารของวันนี้ได้ หลายหลักการถือเป็นสามัญสำนึก แต่ในขณะนั้นแนวคิดเหล่านี้เป็นแนวคิดการปฏิวัติเพื่อการจัดการองค์กร



https://www.toolshero.com/toolsheroes/henri-fayol/